สำนักงานงานเกษตรอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ถ่ายทอดการผลิตขยายสารชีวภัณฑ์ เชื้อราไตรโครเดอร์มา ให้กับเกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลบ้านด่านนาขาม (ศจช.)

🌳วันอังคาร ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2568 เวลา 08.30 น.

🌳นายนพดล สำเภา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทน เกษตรอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ มอบหมายให้นางสาวธัญญารัตน์ เบ้าทองคำ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่ถ่ายทอดการผลิตขยายสารชีวภัณฑ์ เชื้อราไตรโครเดอร์มา ให้กับเกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลบ้านด่านนาขาม (ศจช.) รวมทั้งเด็กนักเรียนจากโรงเรียนประชาชนอุทิศเข้าร่วมรับการเรียนรู้กิจกรรมการผลิตขยายสารชีวภัณฑ์ครั้งนี้ด้วย

🌳การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา โดยการใช้ข้าวสารมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตขยายเชื้อ คุณสมบัติของเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นราปฏิปักษ์ ที่มีประสิทธิภาพสูงในการเจริญแข่งขัน ควบคุม ยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด

🧬กลไกการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช🧬

1. การแข่งขันกับเชื้อราโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถเจริญสร้างเส้นใยได้รวดเร็ว สร้างสปอร์ได้ในปริมาณที่สูงโดยอาศัยอาหารจากซากเศษวัสดุต่างๆ จึงช่วยให้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถแข่งขันกับเชื้อโรคพืชหรือจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณเดียวกัน

2. การเป็นปรสิตต่อเชื้อราโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถใช้เส้นใยพันรัดเส้นใยเชื้อราโรคพืช แล้วสร้างเอนไซน์ไคติเนส เซลลูเลส และกลูคาเนส ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยสลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช จากนั้นจึงแทงเส้นใยเข้าไปเจริญอยู่ภายในเส้นใยเชื้อโรคพืช จึงเป็นเหตุให้เชื้อโรคพืชสูญเสียความมีชีวิต ส่งผลให้ปริมาณของเชื้อโรคลดลง

3. การสร้างสารยับยั้งหรือทำลายเชื้อราโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารปฏิชีวนะ สารพิษและน้ำย่อย (เอ็นไซม์) เพื่อยับยั้งหรือทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้

4. การชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มา ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น (elicitors) ช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างความต้านทานต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืช หรือสารทุติยภูมิ ที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างขึ้นอาจมีคุณสมบัติเป็นตัวชักนำให้พืชสร้างกลไกความต้านทานต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืช ส่งผลทำให้พืชแสดงอาการของโรคน้อยกว่าปกติ

5. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตต่างๆ ได้ หรือเชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างสารไปกระตุ้นให้พืชสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตมากกว่าปกติ หรือเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปขัดขวางหรือทำลายจุลินทรีย์ต่าๆ ที่รบกวนระบบรากของพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์ และแข็งแรงสามารถดูดซับอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ในดินได้ดี

🔖ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สำนักงานงานเกษตรอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ได้ร่วมประชาสัมพันธ์ รณรงค์ สร้างการรับรู้ ลด ละ เลิก และหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตร เพื่อสร้างความร่วมมือเฝ้าระวัง และติดตาม ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร

🌳ณ วัดห้วยกั้ง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น