- Home
- /
- แนะนำหน่วยงาน
- /
- ยุทธศาสตร์สำนักงาน
ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเกษตร ระยะ 5 ปี
กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการกรมส่งเสริมการเกษตร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับกระทรวง สำหรับใช้เป็นกรอบในการทำงานส่งเสริมการเกษตรในระยะ 5 ปี โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ คือ “เกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีรายได้เพิ่มขึ้น”
เป้าหมายในภาพรวมของแผนปฏิบัติราชการกรมส่งเสริมการเกษตร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ประกอบ 3 เป้าหมาย ได้แก่ (1) เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีรายได้เพิ่มขึ้น (2) การผลิตสินค้าเกษตรมีประสิทธิภาพและมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และ (3) เกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนมีความเข้มแข็งสำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ดังกล่าว ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างความมั่นคงในอาชีพแก่เกษตรกร โดยส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน และส่งเสริมการทำเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งยกระดับการผลิตและส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีอาหารบริโภคและสร้างความมั่นคงทางอาหาร ลดรายจ่ายและสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน มีความมั่นคงในอาชีพและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ พัฒนาระบบนิเวศการเกษตร ส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ การผลิตและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร การใช้พืชพันธ์ุดีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ พัฒนาวิสาหกิจชุมชนและ Smart Farmer ให้เป็นผู้ประกอบการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ส่งเสริมการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตรด้วย BCG Model พัฒนาการเกษตรในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริม ความร่วมมือด้านการเกษตรต่างประเทศ
กลยุทธ์ที่ 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และชุมชนเกษตร โดยส่งเสริมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการหลวงและการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมบทบาทเกษตรกรสูงวัยและเตรียมเข้าสู่สังคมสูงอายุของภาคการเกษตร ส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน พัฒนาเกษตรกร Young Smart Farmer และ Smart Farmer เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเกษตรกร พัฒนาและเตรียมกำลังคนเข้าสู่ภาคการเกษตร สร้างความมั่นคงด้านอาหารและความเข้มแข็งของชุมชน ขยายผลการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ และจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรของชุมชน ส่งเสริมการประกอบอาชีพการเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในพื้นที่ และช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ
กลยุทธ์ที่ 4 การส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตจากเดิมสู่การเกษตรปลอดการเผาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและชุมชน และสร้างเครือข่ายปลอดการเผา ส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ และศึกษารูปแบบและขยายขอบเขตงานส่งเสริมการเกษตรที่สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมของสังคมเมือง
กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาศักยภาพองค์กรและการบริหารจัดการ โดยมุ่งพัฒนากรมส่งเสริมการเกษตรสู่การเป็น Digital DOAE และพัฒนาระบบฐานข้อมูล ปรับวิธีการทำงานเป็นแบบ New Normal และพร้อมรองรับ Next Normal ในอนาคตพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เป็น Smart Officer และสร้างโอกาสความก้าวหน้าในสายอาชีพ พัฒนาสำนักงานให้เป็น Smart Office พัฒนาองค์กรสู่ระบบราชการ 4.0 และปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรและสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์
นอกจากนี้ได้กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งโครงการภายใต้แต่ละกลยุทธ์ กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ และมีคำอธิบายวิสัยทัศน์และคำศัพท์สำคัญดังนั้นแผนปฎิบัติราชการกรมส่งเสริมการเกษตรระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2470) จะทำให้การขับเคลื่อนงานของกรมส่งเสริมการเกษตรมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ตามที่กำหนดไว้
เป้าหมาย
1) เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีรายได้เพิ่มขึ้น
2) การผลิตสินค้าเกษตรมีประสิทธิภาพและมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
3) เกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง
วิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง (Strengths) | จุดอ่อน (Weaknesses) |
1) มีแหล่งน้ำ (เขื่อน) | 1) พื้นที่ทางการเกษตรบางแห่งไม่มีเอกสารสิทธิ์ |
2) มีการคมนาคมสะดวก | 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่พัฒนาตนเองเท่าที่ควร |
3) มีจุดผ่านแดนถาวร | 3) เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีเยอะ |
4) มีพื้นที่ทางการเกษตรที่หลากหลาย | 4) มีหนี้สิน |
5) มีกลุ่มเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร ที่เข้มแข็ง | 5) ต้นทุนการผลิตสูง |
6) มีพืชเฉพาะถิ่นที่มีชื่อเสียง/มีจุดเด่น | 6) แรงงานภาคการเกษตรเป็นสังคมสูงวัย |
7) มีการรวมกลุ่มผลิตแบบแปลงใหญ่/ศพก. | 7) ระบบชลประทานยังไม่ครบคลุมทุกพื้นที่ |
8) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อย ขาดการรวมกลุ่ม | |
9) พฤติกรรมการผลิตยังยึดติดแบบเดิม | |
โอกาส (Opportunities) | อุปสรรค (Threats) |
1) มีนโยบายภาครัฐสนับสนุน | 1) ข้อจำกัดด้านกฎหมาย (พื้นที่ป่า) |
2) มีภาคเอกชน/โรงงานอุตสาหกรรม ในพื้นที่ | 2) ภัยธรรมชาติ |
3) การค้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน | 3) ราคาผลผลิตตกต่ำ (กลไกด้านการตลาด) |
4) มีหน่วยงานภาคีร่วมบูรณาการ | 4) นโยบายการค้าเสรี |
5) ระบบ Logistic มีการขยายตัว | 5) กำแพงภาษี (AEC) |